เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 10. ปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”
ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสแล้วนั่งบนอาสนะของตนได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ใช่ไหม คือ

1. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
2. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
3. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
4. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
5. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้แล คือ
1. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ 5. วิญญาณูปาทานขันธ์”

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ประการ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้
มีอะไรเป็นมูลเหตุ”
“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ” ฯลฯ
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ 5 ประการเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าอุปาทาน
เป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ 5 ประการเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่ ทั้ง
อุปาทานเป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ 5 ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ 5 ประการนั้นเป็นตัวอุปาทาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :135 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ 3. ขัชชนียวรรค 10. ปุณณมสูตร

ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ
ภิกษุนั้น ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
มีเวทนาเช่นนี้ มีสัญญาเช่นนี้ มีสังขารเช่นนี้ มีวิญญาณเช่นนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ 5 ประการ จะพึงมีได้อย่างนี้แล”

เหตุที่เรียกว่าขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขันธ์
จึงชื่อว่าขันธ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุปัจจัยแห่งขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :136 }